เพิ่มเติม
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา
เพิ่มเติม
แชร์
ปัสสาวะบ่อยแค่ไหนถึงเสี่ยงโรค
ปัสสาวะบ่อยแค่ไหนถึงเสี่ยงโรค
ภาวะการปัสสาวะบ่อยอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่หลายท่านมักมองข้ามอาการผิดปกตินี้ เนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ได้สังเกตว่าเกิดจากการดื่มน้ำเยอะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากความผิดปกติกับระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อย (Frequent Urination) คือ ภาวะความผิดปกติที่อาจเป็นอันตราย และก่อโรคร้ายในอนาคต สำหรับปกติทั่วไปแล้วเมื่อรู้สึกอยากขับถ่ายปัสสาวะจะสามารถอั้นได้ แต่ผู้ที่มีอาการปัสสาวะบ่อยจะกลั้นไม่อยู่ จนถึงปล่อยราดออกมาได้
ความถี่และปริมาณของการปัสสาวะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น
- อายุ
- ปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน
- เครื่องดื่มที่ดื่มในขณะนั้น เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม
- ยารักษาโรคที่กำลังรับประทาน เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน หรือยาขับปัสสาวะ
- ขนาดของกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ
ปัสสาวะที่ดีจะมีปัสสาวะสีเหลืองอ่อน หรือสีใส ไม่ขุ่น โดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง จะปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง กลางคืนจะปัสสาวะเพียง 1-2 ครั้ง ถ้าหากมากกว่านี้ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มักบ่งชี้ถึงโรคบางอย่าง
สาเหตุการปัสสาวะบ่อย
สาเหตุเกิดโรคที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลายอย่างมากระตุ้นให้เกิดได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด การใช้ชีวิตเช่น กลั้นปัสสาวะบ่อย รวมถึงรับประทานอาหารบางอย่างที่มีคุณสมบัติในการเร่งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีรสจัด โซดา อาหารที่รสจัด เครื่องเทศ วาซาบิ เป็นต้น
โรคที่เป็นสาเหตุของปัสสาวะบ่อย
1. โรคเบาหวาน
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยเป็นสัญญาณเตือนของโรค เพราะไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับสู่เลือดได้หมด จึงปล่อยให้น้ำตาลออกมาพร้อมปัสสาวะ ผู้ป่วยจึงปวดปัสสาวะบ่อย
2. โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติ
เช่น โรคเบาจืด โรคคุชชิง (Cushing Syndromes) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสูญเสียการควบคุมสมดุลของน้ำ โดยมีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปธาลามัส ที่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนมาควบคุมการปัสสาวะได้ตามปกติ จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ปัสสาวะมากและบ่อยผิดปกติ
3. โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน(overactive bladder) เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการรับรู้เร็วกว่าปกติ ปริมาณปัสสาวะยังบรรจุได้ไม่เต็มก็เกิดการบีบตัว ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีนิ่วเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงหรือภายในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วจะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนเกิดอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
4. ภาวะตั้งครรภ์
เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะมีปริมาณสูงขึ้น ร่วมกับมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
5. โรคเนื้องอกมดลูก และรังไข่
เกิดจากเนื้องอกโตไปเบียดกระเพาะปัสสาวะกระเพาะปัสสาวะมีพื้นที่การกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง ส่งผลให้เกิดอาการปวดปวดปัสสาวะบ่อย
6. โรคต่อมลูกหมากโต
อาการต่อมลูกหมากโตจะทำให้กล้ามเนื้อของปัสสาวะบีบตัวอย่างแรง เพื่อให้สามารถขับน้ำปัสสาวะผ่านท่อแคบๆ ที่ต่อมลูกหมากเบียดอยู่ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะขัด แล้วทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนเก็บน้ำในกระเพาะปัสสาวะได้ลดลง ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย
7. ภาวะทางจิตใจ (psychogenic polydipsia)
ทำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
8. รับประทานยา หรือสารบางชนิด
เช่น ยาขับปัสสาวะ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ มีผลไปกระตุ้นทำให้ปัสสาวะบ่อยได้
9. โรคไตเรื้อรัง
เนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของไต ไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้ดีเช่นเดิม จึงทำให้น้ำถูกขับออกจากร่างกายมากกว่า และบ่อยกว่าปกติ
10. โรคอ้วน
เกิดจากการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ทำให้แรงดันในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงเข้าห้องน้ำบ่อย
ปัสสาวะที่อันตราย ควรรีบไปพบแพทย์
คือการปวดปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือบ่อยจนรู้สึกว่ารบกวนชีวิตประจำวัน และยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
- มีอาการไข้ และอาเจียน
- ปัสสาวะมีเลือดปน ตกขาว หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ ออกมา
- ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น แดง หรือน้ำตาลเข้ม
- ช่วงเวลากลางคืนตื่นมาปัสสาวะมากกว่า 2 ครั้ง
- ปัสสาวะแล้วมีอาการเจ็บ แสบ
- ปัสสาวะบ่อยแต่กะปริบกะปรอย ปัสสาวะไม่สุด
- ปัสสาวะมีนิ่วปน
- ปวดหลังส่วนล่าง บริเวณระดับไต
ผลกระทบจากการปัสสาวะบ่อย
· เกิดภาวะการอดนอน ในผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
· การเดินทางล่าช้า เนื่องจากต้องแวะเข้าห้องน้ำบ่อยๆ
· ไปไหนสักครั้งก็ต้องสำรองเสื้อผ้าไว้เยอะๆ เพื่อรองรับการสับเปลี่ยนเมื่อปัสสาวะราด ส่งผลกระทบจิตใจอย่างเห็นได้ชัด ส่วนร่างกายอาจมีผื่นหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
· สร้างความรำคาญในขีวิตประจำวัน
การวินิจฉัย
1. แพทย์จะซักประวัติ ถามถึงปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน ใช้ยาอะไรอยู่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนหรือไม่
2. ทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น
· ตรวจเก็บปัสสาวะ ดูแบคทีเรียและเซลล์เม็ดเลือดขาวว่าพบการติดเชื้อหรือไม่
· อัลตราซาวด์ เพื่อตรวจดูเนื้องอก
· ส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ ใช้ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบ ถ่ายเบาบ่อยเรื้อรังโดยเฉพาะสตรีวัยกลางคนที่ผ่านการคลอดบุตรมานานหลายปี
การรักษา
การรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปยังสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อความผิดปกติในการปัสสาวะเป็นอันดับแรก เช่น หากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เพราะหากสาเหตุเหล่านั้นบรรเทาลงได้จะช่วยให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง นอกจากนี้ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตด้วย เช่น
· หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวต่างๆ ก่อนนอน
· ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนลง
หากเกิดภาวะปัสสาวะบ่อยเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ อาการมักจะหายได้เองหลังคลอดบุตร สําหรับสาเหตุอื่นๆ ผู้ป่วยควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อค้นหาสาเหตุ พร้อมวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
การดูแลตนเอง
- จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ
- งดดื่มน้ำก่อนเข้านอน 2-4 ชั่วโมง
- ออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- สวมชุดชั้นในหรือแผ่นซึมซับเพื่อป้องกันปัสสาวะรั่วไหล ในระหว่างที่ได้รับการรักษา
ผลกระทบจากภาวะปัสสาวะบ่อยเกินไป เห็นได้ชัดเลยคือ ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน ความสัมพันธ์ การเข้าสังคม ในบางคนเกิดภาวะวิตกกังวลในการเดินทางไปไกล หรือที่ที่อยู่ห่างไกลจากห้องน้ำ ทำให้การใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น ในผู้ป่วยบางรายที่มักปวดเข้าห้องน้ำเวลากลางคืน ทำให้ไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากปล่อยไว้ในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับต่อมลูกหมาก อวัยวะที่คนชอบเข้าใจผิด
ป้องกันอาการต่อมลูกหมากโตก่อนวัย
ยา สมุนไพร หรือการผ่าตัด? ทางเลือกในการรักษาต่อมลูกหมากโต
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By
MakeWebEasy
หน้าแรก
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
Home
Home
Home
Home
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา