เพิ่มเติม
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา
เพิ่มเติม
แชร์
ต่อมลูกหมากโต โรคที่คุณผู้ชายควรรู้
ต่อมลูกหมากโต โรคที่คุณผู้ชายควรรู้
ภาวะต่อมลูกหมากโตเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้ชายตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ส่งผลให้เกิดปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ และเพิ่มความรุนแรงของโรคเรื้อรังถ้าเกิดในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย รบกวนการนอนหลับ และการทำกิจวัตรประจำวัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคุณผู้ชายในระยะยาว
ต่อมลูกหมาก (Prostate) คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีขนาดเท่ากับผลลิ้นจี่ ลักษณะคล้ายผลเกาลัด อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ และห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำหน้าที่ผลิตน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ, สารพีเอสเอ (PSA) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำอสุจิไม่เกาะกันเป็นก้อนเหนียวข้น และพาเชื้ออสุจิออกสู่ภายนอกร่างกาย
ต่อมลูกหมากจะเจริญเติบโตจนถึงอายุ 20 ปี และหยุดเจริญเติบโตลง ก่อนกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้งหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ชายช่วงวัยนี้เริ่มประสบปัญหาต่อมลูกหมากโต ยิ่งอายุมากขึ้น ต่อมลูกหมากจะยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ จนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้พื้นที่ในการกักเก็บปัสสาวะน้อยลง และเบียดบริเวณท่อปัสสาวะส่วนต้นให้แคบลง ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ปวดปัสสาวะบ่อย
สาเหตุการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต
1. อายุมากขึ้น
2. โรคประจำตัว
3. พันธุกรรม
4. ติดเชื้อในต่อมลูกหมาก
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
1. มีปัสสาวะหยดเมื่อใกล้จะสุด
2. ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย หรือปัสสาวะเล็ด
3. ปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
4. ปัสสาวะขัด
5. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ความเสี่ยงหากไม่รักษา
· การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
· สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
· นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
· ปัสสาวะเป็นเลือด
· ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
· การทำงานของไตเสื่อมลง และไตวายได้
การปัสสาวะบ่อยส่งผลต่อการนอนหลับ โดยเฉพาะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ทำให้สุขภาพการนอนหลับไม่ดี เพราะต้องตื่นจากการนอนพักผ่อนเพื่อไปปัสสาวะ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ทำให้ผู้ที่เป็นภาวะต่อมลูกหมากโต ต้องเสี่ยงต่อภาวะอาการอดนอนได้ในที่สุด
การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต
1. ตรวจสอบร่างกาย และซักประวัติคนไข้โดยละเอียด
2. การตรวจต่อมลูกหมากทางท่อทวารหนัก DRE (Digital Rectal Examination) เพื่อดูลักษณะผิดปกติ และความแน่นของเนื้อต่อมลูกหมาก
3. ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
4. ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
5. วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
5. อัลตราซาวด์ขนาดต่อมลูกหมากที่เปลี่ยนแปลง
6. เจาะ PSA (Prostatic Specific Antigen) เพื่อแยกโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษา
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน หรือแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการรักษาหลายวิธีควบคู่กันไปตามความคิดเห็นของแพทย์ โดยตัวอย่างการรักษามีดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ในรายที่เป็นไม่มาก อาจต้องลดการดื่มน้ำลงในช่วงเวลากลางคืน ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ถ้าอาการดีขึ้นไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรักษาด้วยยาต่อไป
2. การใช้ยา
แพทย์อาจจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้มีลักษณะอ่อนตัวลง (Alpha-Blockers) ซึ่งจะช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบากมากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน หรือในรายที่เป็นมากๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาตามความเหมาะสมแต่ละอาการของแต่ละบุคคล
3. การผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อขูดตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate-TURP) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะจากแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องมือแบบขดลวดสำหรับตัด และจี้ด้วยไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตัด และหยุดเลือดออกไปได้พร้อมกัน
4. เทคโนโลยีการรักษาด้วยไอน้ำ
เป็นวิธีการรักษาโดยใช้เครื่องมือและกล้องสอดผ่านท่อปัสสาวะ เข้าไปยังต่อมลูกหมาก หลังจากนั้นฉีดไอน้ำที่มีอุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียสเข้าไปในต่อมลูกหมาก ไอน้ำจะกระจายเข้าไประหว่างเซลล์ของต่อมลูกหมาก ทำให้เซลล์ที่อุดตันท่อทางเดินปัสสาวะตายไป (Apoptosis) และร่างกายจะกำจัดเซลล์ที่ตายออกไปตามธรรมชาติ ในที่สุดต่อมลูกหมากจะหดตัวมีขนาดเล็กลงและท่อปัสสาวะจะกว้างขึ้น ทำให้ปัสสาวะได้เป็นปกติ
5. สมุนไพรทางเลือก
การรักษาด้วยสมุนไพรเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในนั้นคือ สมุนไพรจีนที่มีชื่อว่า อิ่วไช่หัวฝืน (Brassica Campestris) ชื่อไทยคือ ผักกาดหางหงส์เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดที่มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน มีงานวิจัยพบว่า ผงเกสรดอกไม้จากต้น Brassica Campestris เต็มไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน เอนไซม์ และอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ใช้รักษา อาการต่อมลูกหมากโต และต่อมลูกหมากอักเสบ มีฤทธิ์ต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย และลดอาการบวมของต่อมลูกหมาก ลดการอักเสบ ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำที่ต่อมลูกหมาก
การดูแลตนเอง
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันโรคต่อมลูกหมากโตได้อย่างถาวร แต่สามารถดูแลตนเอง หมั่นสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงโรคที่จะตามมาได้
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดง
เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เป็นต้น เมื่อรับประทานในปริมาณมาก จะเพิ่มความเสี่ยงภาวะต่อมลูกหมากโต
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม
การรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม เนย และชีสเป็นประจำ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อมลูกหมากโต
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารโซเดียมสูง
เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูปอื่นๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเกลือ การบริโภคเกลือจำนวนมาก ทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะทำงานหนัก ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่อมลูกหมากโต
4. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
เพราะแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะออกมาเยอะ และงดดื่มเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน หรือลดปริมาณลงเพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะและทำให้อาการแย่ลง
5. ไม่ควรขี่ หรือนั่งจักรยาน
เพราะการทำกิจกรรมอะไรที่สะเทือนต่อมลูกหมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก และอาจมีอาการอื่นๆ ตามมาได้
6. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน
เพื่อช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน แต่ไม่ควรอดหรือลดปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละวัน
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้
เพราะอาจทำให้ปัสสาวะได้ลำบาก เนื่องจากตัวยาจะออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะที่ควบคุมการไหลของปัสสาวะหดตัวลง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับต่อมลูกหมาก อวัยวะที่คนชอบเข้าใจผิด
ป้องกันอาการต่อมลูกหมากโตก่อนวัย
ยา สมุนไพร หรือการผ่าตัด? ทางเลือกในการรักษาต่อมลูกหมากโต
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By
MakeWebEasy
หน้าแรก
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
Home
Home
Home
Home
หน้าแรก
บทความสุขภาพ
ติดต่อเรา